จังหวัดสระบุรี |
|
|
พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว หนึ่งเดียวกะหรี่ปั๊บนมดี ประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง |
ข้อมูลทั่วไป |
|
|
จังหวัดสระบุรี เป็น
จังหวัดหนึ่งใน
ภาคกลางของ
ประเทศไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของภาคกลาง นับเป็นเสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางกับ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย
สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดสระบุรี นับว่าเป็นทำเลแห่งการเพาะปลูก ได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำสายหลัก คือ
แม่น้ำป่าสัก และสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม
ประวัติศาสตร์[แก้]
สระบุรีเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งแต่โบราณ สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี
พ.ศ. 2092 ในรัชสมัย
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ การตั้งเมืองนี้สันนิษฐานว่า พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้แบ่งเขตพื้นที่บางส่วนของเมือง
ลพบุรี เมือง
นครนายก และเมือง
นครราชสีมา มารวมกันตั้งขึ้นเป็นเมืองสระบุรี ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เป็นศูนย์ระดมพลเมืองในยามศึกสงคราม เพราะฉะนั้นตั้งแต่สมัย
กรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา จึงมักพบเรื่องราวของจังหวัดสระบุรีเกี่ยวกับการศึกสงครามอยู่เสมอ
ชื่อจังหวัด[แก้]
สำหรับที่มาของคำว่า "สระบุรี" สันนิษฐานว่า เพราะเหตุที่ทำเลที่ตั้งครั้งแรกมีบึงอยู่ใกล้ คือ "บึงหนองโง้ง" เมื่อตั้งเมืองขึ้นจึงได้นำเอาคำว่า "สระ" มารวมเข้ากันกับคำว่า "บุรี" เป็นชื่อเมือง "สระบุรี"
ภูมิศาสตร์[แก้]
ภูมิประเทศ[แก้]
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะ ดังนี้ ตอนเหนือ ตะวันออก และตอนกลางของจังหวัดเป็นป่ามีเนินเขาสลับที่ราบสูง ซึ่งเหมาะในการปลูกพืชไร่ ตอนใต้และตะวันตกส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเหมาะในการทำนา แม่น้ำที่สำคัญมีเพียงสายเดียว คือ แม่น้ำป่าสัก ซึ่งนับว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ของจังหวัดสระบุรี โดยอาศัยน้ำใช้ในการเกษตร และประโยชน์อย่างอื่น แม่น้ำป่าสักไหลผ่านอำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอเสาไห้ ไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คิดเป็นความยาวประมาณ 105 กิโลเมตร นอกจากนั้นสระบุรียังมีคลองที่สำคัญ ๆ หลายสาย เช่น คลองรพีพัฒน์ คลองเริงราง คลองวิหารแดง และคลองเพรียว เป็นต้น
ภูมิอากาศ[แก้]
สภาพโดยทั่วไปมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันและพายุไต้ฝุ่นอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 28.3 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละประมาณ 1147.6 มิลลิเมตร มีฤดูต่าง ๆ 3 ฤดูคือ
- ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง
- ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม อากาศจะชุ่มชื้นในเดือนกันยายน
- ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็นสลับกับอากาศร้อน
อุทยานแห่งชาติ[แก้]
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
การเมืองการปกครอง[แก้]
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี
ลำดับ | ชื่อ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1 | พระยาพิไชยรณรงค์สงคราม (ดิศ) | พ.ศ. 2441- 2452 |
2 | พระสุระราชภักดี (อ่วม) | พ.ศ. 2452 - 2456 |
3 | พระบุรีสราธิการ (เป้า จารุเสถียร) | พ.ศ. 2456 - 2457 |
4 | พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ส่าง) | พ.ศ. 2457 - 2458 |
5 | พระพิศาลสงคราม (ผล) | พ.ศ. 2458 - 2460 |
6 | พระยารามราชเดช (ม.ร.ว.ปาน นพวงศ์) | พ.ศ. 2461 - 2465 |
7 | พระทวาราวดีภิบาล (เชย ชัยประภา) | พ.ศ. 2465 - 2467 |
8 | พระจรูญภารการ (โป๊ กูระมะโรหิต) | พ.ศ. 2467 - 2472 |
9 | พระยาบุรีสราธิการ (โจ้ กนิษฐรัต) | พ.ศ. 2472 - 2476 |
10 | พระยาสุรพลพิพิธ (เป้า สุมนดิษฐ์) | พ.ศ. 2476 - 2476 |
11 | พระพิชัยศรแผลง (ผ่อง เอมมะวรรธนะ) | พ.ศ. 2476 - 2481 |
12 | นายอุดม บุญประกอบ | พ.ศ. 2481 - 2484 |
13 | ขุนนครรัฐเขตต์ (สุนทร ตามไท) | พ.ศ. 2484 - 2486 |
14 | ร.ต.อ.พระพิชิตบัญชาการ (ทรัพย์ พิชิต) | พ.ศ. 2486 - 2487 |
15 | พ.ต.เล็ก ทองสุนทร | พ.ศ. 2488 - 2489 |
16 | นายอุดม บุณยประสพ | พ.ศ. 2489 - 2489 |
17 | นายชม ชาตินันทน์ | พ.ศ. 2489 - 2490 |
18 | ร.ท.ถวิล ระวังภัย | พ.ศ. 2490 - 2492 |
19 | นายชุบ พิเศษนครกิจ | พ.ศ. 2492 - 2494 |
20 | นายสาย หุตะเจริญ | พ.ศ. 2495 - 2496 |
21 | พ.ต.อ.ตระกูล วิเศษรัตน์ | พ.ศ. 2496 - 2496 |
22 | นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ | พ.ศ. 2496 - 2501 |
23 | ขุนสนิท ประชากร | พ.ศ. 2501 - 2504 |
24 | นายวรวิทย์ รังสิโยทัย | พ.ศ. 2504 - 2509 |
25 | นายประพจน์ เรขะรุจิ | พ.ศ. 2509 - 2513 |
| รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี (ต่อ)
ลำดับ | ชื่อ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
26 | นายวิสิษฐ์ ไชยพร | พ.ศ. 2513 - 2514 |
27 | นายวิทยา เกสรเสาวภาค | พ.ศ. 2514 - 2515 |
28 | นายเลิศ หงส์ภักดี | พ.ศ. 2515 - 2520 |
29 | นายโชดก วีรธรรมพูลสวัสดิ์ | พ.ศ. 2520 - 2522 |
30 | นายอารีย์ วงศ์อารยะ | พ.ศ. 2522 - 2523 |
31 | นายสนิท รุจิณรงค์ | พ.ศ. 2523 - 2527 |
32 | นายธานี โรจนาลักษณ์ | พ.ศ. 2527 - 2531 |
33 | นายไพฑูรย์ สุนทรวิภาต | พ.ศ. 2531 - 2532 |
34 | นายอภัย จันทนจุลกะ | พ.ศ. 2532 - 2534 |
35 | นายศักดา ลาภเจริญ | พ.ศ. 2534 - 2535 |
36 | นายปริญญา นาคฉัตรีย์ | พ.ศ. 2535 - 2536 |
37 | นายประกิต เทพชนะ | พ.ศ. 2536 - 2538 |
38 | นายอำนวย ยอดเพชร | พ.ศ. 2538 - 2540 |
39 | นายประยูร พรหมพันธุ์ | พ.ศ. 2540 - 2541 |
40 | นายสุนทร ริ้วเหลือง | พ.ศ. 2541 - 2544 |
41 | นายนรินทร์ พานิชกิจ | พ.ศ. 2544 - 2545 |
42 | นายทวีป เทวิน | พ.ศ. 2545 - 2548 |
43 | นายชุมพร พลรักษ์ | พ.ศ. 2549 - 2549 |
44 | นายธวัชชัย เทิดเผ่าไทย | พ.ศ. 2549 - 2551 |
45 | นายธนเษก อัศวานุวัตร | ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน 2552 |
46 | นายถาวร พรหมมีชัย | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน 2556 |
47 | นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 1 มิถุนายน 2557 |
48 | นายวิเชียร พุฒิวิญญู | 2 มิถุนายน 2557 - 30 กันยายน 2559 |
49 | นายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ | 1 ตุลาคม 2559 - ปัจจุปัน |
|
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
แผนที่อำเภอในจังหวัดสระบุรี
การปกครองแบ่งออกเป็น 13
อำเภอ 111
ตำบล 965
หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
จังหวัดสระบุรีมี
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนทั้งสิ้น 109 แห่ง แบ่งออกเป็น
องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี,
เทศบาลเมือง 4 แห่ง,
เทศบาลตำบล 34 แห่ง, และ
องค์การบริหารส่วนตำบล 71 แห่ง โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามพื้นที่ดังนี้
อำเภอเมืองสระบุรี
อำเภอแก่งคอย
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
อำเภอดอนพุด
| อำเภอบ้านหมอ
- เทศบาลตำบลท่าลาน
- เทศบาลตำบลบ้านหมอ
- เทศบาลตำบลตลาดน้อย
- เทศบาลตำบลบางโขมด
- เทศบาลตำบลสร่างโศก
- เทศบาลตำบลหนองบัว
อำเภอพระพุทธบาท
| อำเภอมวกเหล็ก
อำเภอวังม่วง
- เทศบาลตำบลวังม่วง
- เทศบาลตำบลคำพราน
- เทศบาลตำบลแสลงพัน
อำเภอวิหารแดง
- เทศบาลตำบลวิหารแดง
- เทศบาลตำบลหนองหมู
อำเภอเสาไห้
- เทศบาลตำบลเสาไห้
- เทศบาลตำบลสวนดอกไม้
- เทศบาลตำบลบ้านยาง
- เทศบาลตำบลเมืองเก่า
- เทศบาลตำบลต้นตาล-พระยาทด
- เทศบาลตำบลหัวปลวก
| อำเภอหนองแค
อำเภอหนองแซง
อำเภอหนองโดน
|
การศึกษา[แก้]
- ระดับอุดมศึกษา
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
- สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
การขนส่ง[แก้]
เส้นทางคมนาคมทางถนนที่สำคัญของจังหวัดสระบุรี คือ
จาก
กรุงเทพมหานครมี
รถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศของ บริษัท ขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต
ถนนกำแพงเพชร 2 วันละ 28 เที่ยว
ส่วนการขนส่งทางราง จาก
สถานีรถไฟกรุงเทพ มีบริการเดินรถไฟไปจังหวัดสระบุรีทุกวัน วันละหลายขบวน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง และบางขบวนยังสามารถแวะลงได้ที่
สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย และ
สถานีรถไฟมวกเหล็กได้ด้วย
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
- ด้านศาสนา
- ด้านวงการบันเทิง
- ด้านกีฬา
- ด้านการเมือง
อ้างอิง[แก้]
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น