จังหวัดนครนายก |
|
นครนายก เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ |
ข้อมูลทั่วไป |
|
|
จังหวัดนครนายก เป็น
จังหวัดหนึ่งใน
ภาคกลางของ
ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดย
พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
ประวัติ[แก้]
สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมือง
สมัยทวารวดี มีหลักฐานแนวกำแพงเนินดินและสันคูอยู่ที่
ตำบลดงละคร แต่นครนายกนั้นปรากฏหลักฐานใน
สมัยอยุธยาเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันออกในสมัย
พระเจ้าอู่ทอง ต่อมาในปี
พ.ศ. 2437 รัชกาลที่ 5 ทรงจัดลักษณะการปกครองโดยแบ่งเป็นมณฑล นครนายกได้เข้าไปอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรีจนเมื่อปี พ.ศ. 2445 ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมืองและให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นแทน ในช่วง พ.ศ. 2486-2489 นครนายกได้โอนไปรวมกับ
จังหวัดปราจีนบุรีและ
สระบุรี หลังจากนั้นจึงแยกเป็นจังหวัดอิสระ
บันทึกจากอดีต[แก้]
จังหวัดนครนายก ระหว่างปี พ.ศ. 2382 - 2387 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวต่างประเทศคือ บาทหลวงปาเลอกัวซ์ และ ดาเวนพอร์ท เดินทางมาถึงเมืองนครนายก และได้บันทึกว่า เมืองนครนายกมีพลเมืองประมาณ 5,000 คน ส่วนมากเป็นชาวลาว และมีชาวสยามอยู่ด้วย ราษฎรประกอบอาชีพในการปลูกข้าวและหาของป่าส่งไปขายที่กรุงเทพ
ที่มาของชื่อ[แก้]
ที่มาของชื่อนครนายกนั้นไม่ชัดเจนทางประวัติศาสตร์ แนวคิดหลักของที่มาของชื่อมีดังนี้
- จังหวัดนครนายกเดิมชื่อบ้านนาแต่ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดนครนายก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาดินแดนของนครนายกเป็นป่ารกชัฏ เป็นที่ดอนทำนา หรือทำการเพาะปลูกอะไรไม่ค่อยได้ผล มีไข้ป่าชุกชุมผู้คนจึงพากันอพยพไปอยู่ที่อื่นจนกลายเป็นเมืองร้าง ต่อมาพระมหากษัตริย์ทรงทราบความเดือดร้อนของชาวเมืองจึงโปรดให้ยกเลิกภาษีค่านา เพื่อจูงใจให้ชาวเมืองอยู่ที่เดิมทำให้มีคนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ และเรียกเมืองนี้จนติดปากว่า เมืองนา-ยก ภายหลังจึงกลายเป็นนครนายกจนทุกวันนี้ [3]
- สมัยก่อนรัชกาลที่ 5 การปกครองส่วนภูมิภาคถูกแบ่งเป็นสมุหนายกและสมุหกลาโหม โดยสมุหกลาโหมปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านใต้ และสมุหนายกปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านเหนือ พื้นที่เดิมของจังหวัดนครานายกนั้นเป็พื้นที่ที่เคยอยู่สังกัดกับสมุหกลาโหมแต่ถายหลังถูกโอนให้อยู่ภายใต้การดูแลของสมุหนายก พื้นที่ตรงนี้จึงได้ชื่อว่านครนายกนับแต่นั้นเป็นต้นมา [3]
ภูมิศาสตร์[แก้]
จังหวัดนี้ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 14 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 101 องศาตะวันออก มีระยะทางจากจาก
กรุงเทพมหานครตาม
ถนนรังสิต-นครนายก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305) ผ่าน
อำเภอองครักษ์ถึงจังหวัดนครนายก ระยะทาง 105 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 2,122 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 1,326,250 ไร่
สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบ ทางตอนเหนือและตะวันออกเป็นภูเขาสูงชันในเขตอำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก และอำเภอปากพลี ส่วนหนึ่งอยู่ในเขต
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับอีก 3 จังหวัด ได้แก่
สระบุรี นครราชสีมา และ
ปราจีนบุรี ซึ่งมีเทือกเขาติดต่อกับ
ทิวเขาดงพญาเย็น มียอดเขาสูงที่สุดของจังหวัดคือ ยอด
เขาเขียวมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,351 เมตร ส่วนทางตอนกลางและตอนใต้เป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่เรียกว่า "ที่ราบกรุงเทพฯ"
ลักษณะดินเป็นดินปนทรายและดินเหนียวเหมาะแก่การ ทำนา ทำสวนผลไม้ และการอยู่อาศัย
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
-
ต้นสุพรรณิการ์และดอกสุพรรณิการ์ ซึ่งเป็นต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดตามลำดับ
-
การเมืองการปกครอง[แก้]
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
แผนที่อำเภอในจังหวัดนครนายก
การปกครองส่วนภูมิภาคของจังหวัดนครนายกแบ่งออกเป็น 4
อำเภอ 41
ตำบล 403
หมู่บ้าน
- อำเภอเมืองนครนายก
- อำเภอปากพลี
- อำเภอบ้านนา
- อำเภอองครักษ์
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
จังหวัดนครนายกมี
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 46 แห่ง ประกอบด้วย
องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก,
เทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ
เทศบาลเมืองนครนายก,
เทศบาลตำบล 5 แห่ง และ
องค์การบริหารส่วนตำบล 39 แห่ง
[4] โดยรายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดนครนายกมีดังนี้
ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]
ต่อไปนี้คือรายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523
ลำดับ | ชื่อ | เริ่มดำรงตำแหน่ง | ออกจากตำแหน่ง |
1 | นายกริช เกตุแก้ว | 1 ตุลาคม 2523 | 30 กันยายน 2525 |
2 | นายธานี โรจนาลักษณ์ | 1 ตุลาคม 2525 | 30 กันยายน 2527 |
3 | นายปัญญา ฤกษ์อุไร | 1 ตุลาคม 2527 | 30 กันยายน 2531 |
4 | นายสุชาญ พงษ์เหนือ | 1 ตุลาคม 2531 | 30 กันยายน 2532 |
5 | ร้อยตรีพูลศักดิ์ สัตยานุรักษ์ | 1 ตุลาคม 2532 | 15 มิถุนายน 2534 |
6 | นายประกิต เทพชนะ | 16 มิถุนายน 2534 | 25 มกราคม 2536 |
7 | คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช | 26 มกราคม 2536 | 5 มิถุนายน 2541 |
8 | ดร.พีรพล ไตรทศาวิทย์ | 6 มิถุนายน 2541 | 30 กันยายน 2542 |
9 | นายประกิต กันยาบาล | 1 ตุลาคม 2542 | 30 กันยายน 2544 |
10 | นายเชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ | 1 ตุลาคม 2544 | 30 กันยายน 2547 |
11 | นายรัชทิน ศยามานนท์ | 1 ตุลาคม 2547 | 30 กันยายน 2548 |
|
ลำดับ | ชื่อ | เริ่มดำรงตำแหน่ง | ออกจากตำแหน่ง |
12 | นายปานชัย บวรรัตนปราณ | 1 ตุลาคม 2548 | 12 พฤศจิกายน 2549 |
13 | นายเจตน์ ธนวัฒน์ | 13 พฤศจิกายน 2549 | 6 พฤษภาคม 2551 |
14 | นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ | 6 พฤษภาคม 2551 | 15 มีนาคม 2552 |
15 | นายปรีชา กมลบุตร | 16 มีนาคม 2552 | 30 กันยายน 2553 |
16 | นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ | 1 ตุลาคม 2553 | 13 มกราคม 2555 |
17 | ดร.สุรชัย ศรีสารคาม | 23 กุมภาพันธ์ 2555 | 18 ตุลาคม 2556 |
18 | ดร.ทวี นริสศิริกุล | 30 ตุลาคม 2556 | 30 กันยายน 2558 |
19 | ดร.สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ | 1 ตุลาคม 2558 | 30 กันยายน 2559 |
20 | ดร.ประดิษฐ์ ยมานันท์ | 1 ตุลาคม 2559 | 30 กันยายน 2560 |
21 | นายณัฐพงษ์ ศิริชนะ | 1 ตุลาคม 2560 | ปัจจุบัน |
|
การศึกษา[แก้]
ในจังหวัดนครนายกมีสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ได้แก่
สถานที่สำคัญ[แก้]
- วัดที่สำคัญ
- วัดโพธินายก
- วัดอุดมธานี (พระอารามหลวง)
- วัดศรีเมือง วัดโบราณติดกำแพงเมืองนครนายก
- วัดถ้ำสาริกา
- วัดเจดีย์ทอง
- วัดเขานางบวช รอยพระพุทธบาทจำลอง
- วัดบุญนาครักขิตาราม หลวงพ่อเศียรนคร
|
- วัดป่าศรีถาวรนิมิต
- วัดพราหมณี (พระอารามหลวง) หลวงพ่อปากแดง
- วัดเขาทุเรียน วัดที่ทาด้วยสีชมพูทั้งวัด
- วัดคีรีวัน พระแก้วมรกตจำลององค์ใหญ่
- วัดสะแกซึง
- วัดพระธรรมจักร
|
- สถานที่ท่องเที่ยว
- น้ำตกวังตะไคร้
- น้ำตกสาริกา
- น้ำตกนางรอง
- พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน
|
|
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
- พระสงฆ์ พระภิกษุ
- สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท) – สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ และอดีตเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหารและวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
- พระครูวิมุตยาภรณ์ (เกิด ปริมุตฺโต) (หลวงพ่อเกิด) – พระเกจิดัง และท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์แทน จังหวัดนครนายก
- พระครูพิศาลธรรมประยุต (เกิด ปุณณปัญโญ) – พระเกจิอาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสะพาน จังหวัดนครนายก
- หลวงปู่สนธิ์ สุมโน – อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาคอกสุมมนาราม จังหวัดนครนายก (สรีระไม่เน่าเปื่อย)
- หลวงปู่สี ฐานิโย – อดีตเจ้าอาวาสวัดพระฉาย (เขาชะโงก) จังหวัดนครนายก (สรีระไม่เน่าเปื่อย)
- หลวงปู่ชื่น – อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาหัวนา จังหวัดนครนายก (สรีระไม่เน่าเปื่อย)
- หลวงพ่อแดง – อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าแห จังหวัดนครนายก (ร่างเป็นหิน)
- นักการเมือง
- บันเทิง
- นักกีฬา
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น