สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี
จังหวัดสุพรรณบุรี
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง
|
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก
|
|
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
สุพรรณบุรีเป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทางโบราณคดีมีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500-3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสำริด ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี และศรีวิชัย สุพรรณบุรีเดิมมีชื่อว่า ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ พันธุมบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า สองพันบุรี ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกว่า อู่ทอง จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว เมืองนี้จึงเรียกว่าชื่อว่า สุพรรณบุรี นับแต่นั้นมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง สภาพเมืองตลอดจนโบราณสถานถูกทำลายเหลือเพียงซากปรักหักพัง จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองสุพรรณบุรีได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่ และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน (ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้
ความสำคัญของสุพรรณบุรีในด้านประวัติศาสตร์การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ชัยชนะแห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอนเจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดีไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิ บ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์
สุพรรณบุรี ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ราบภาคกลางสืบสานความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตเมื่อ พ.ศ. 1420 จากนามเดิมเมืองพันธุมบุรีในยุคทวารวดีตามหลักฐานทางโบราณคดีได้จารึกชื่อไว้ในพงศาวดารเหนือ และนาม "สุพรรณภูมิ" ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุว่าเป็นนครรัฐที่มีความสำคัญมาก่อนกรุงศรีอยุธยา เมื่อมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมืองสุพรรณบุรีจึงจัดอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญอีกด้วย
ภูมิศาสตร์[แก้]
แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จังหวัดสุพรรณบุรี (วิธีอ่าน) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
[ซ่อน]ข้อมูลภูมิอากาศของสุพรรณบุรี | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.7 (89.1) | 33.9 (93) | 35.7 (96.3) | 36.9 (98.4) | 35.4 (95.7) | 34.2 (93.6) | 33.6 (92.5) | 33.3 (91.9) | 32.3 (90.1) | 31.5 (88.7) | 30.6 (87.1) | 30.3 (86.5) | 33.28 (91.91) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 19.2 (66.6) | 21.7 (71.1) | 23.5 (74.3) | 25.1 (77.2) | 25.3 (77.5) | 25.0 (77) | 24.6 (76.3) | 24.6 (76.3) | 24.6 (76.3) | 24.4 (75.9) | 22.4 (72.3) | 19.4 (66.9) | 23.32 (73.97) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 6.7 (0.264) | 8.9 (0.35) | 18.0 (0.709) | 65.1 (2.563) | 143.4 (5.646) | 101.4 (3.992) | 113.9 (4.484) | 136.1 (5.358) | 275.5 (10.846) | 192.8 (7.591) | 39.8 (1.567) | 11.2 (0.441) | 1,112.8 (43.811) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย | 1 | 1 | 2 | 5 | 12 | 13 | 15 | 16 | 19 | 13 | 4 | 1 | 102 |
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- คำขวัญประจำจังหวัด : เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง
- ตราประจำจังหวัด : รูปการทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งพม่า
- ธงประจำจังหวัด : รูปการทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งพม่า ในพื้นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงิน - แสด
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นมะเกลือ (Diospyros mollis)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกสุพรรณิการ์ (Cochlospermum regium)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาม้า (Boesemania microlepis)
การเมืองการปกครอง[แก้]
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองแบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 110 ตำบล 977 หมู่บ้าน โดยทั้ง 10 อำเภอมีดังนี้
|
|
|
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]
|
|
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]
การขนส่ง[แก้]
- ถนนที่สำคัญในสุพรรณบุรี
- ถนนพระพันวษา
- ถนนขุนไกร
- ถนนม้าสีหมอกและถนนหมื่นหาญ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3431)
- ถนนเณรแก้ว
- ถนนขุนแผน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3017)
- ถนนนางพิม
- ถนนขุนช้าง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3318)
- ถนนหลวงทรงพล
- ถนนพลายชุมพล
- ถนนขุนไกร
- ถนนบางบัวทอง-ชัยนาท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340)
- ถนนมาลัยแมน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321)
- ถนนประชาธิปไตย
- สะพานที่สำคัญ
- สะพานอาชาสีหมอก ๑
- สะพานอาชาสีหมอก ๒
- สะพานอาชาสีหมอก ๓
- สะพานวัดพระรูป
การศึกษา[แก้]
- โรงเรียน
- ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ด่านช้าง สุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิทยาเขตสระยายโสม สุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ศูนย์เดิมบางนางบาช สุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ศูนย์สุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
- วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร สุพรรณบุรี
- วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี
- วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี
- สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี
- ระดับอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีสหวิทย์บริหารธุรกิจ
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี
- วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส
- วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี
- วิทยาลัยการอาชีพสองพี่น้อง
- วิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี
สาธารณสุข[แก้]
- โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
- โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗
- โรงพยาบาลอู่ทอง
- โรงพยาบาลด่านช้าง
- โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช
- โรงพยาบาลสามชุก
- โรงพยาบาลศรีประจันต์
- โรงพยาบาลดอนเจดีย์
- โรงพยาบาลบางปลาม้า
- โรงพยาบาลหนองหญ้าไซ
- โรงพยาบาลศุภมิตร
- โรงพยาบาลพรชัย
- โรงพยาบาลเทวพร
- โรงพยาบาลธนบุรี-อู่ทอง
- โรงพยาบาลสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สถานีอนามัยดอนขุนราม)
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
|
|
|
|
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
- ศาสนา
- สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิโม) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
- สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน
- พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ) วัดปากน้ำภาษีเจริญ
- พระพรหมมุนี (แย้ม อุปวิกาโส) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
- พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) วัดปากน้ำภาษีเจริญ
- พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
- พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ฉลอง จินฺตาอินฺโท) วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
- พระพุทธิวงศาจารย์ (ปลด พรหมสโร) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
- พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำภาษีเจริญ
- พระเทพมงคลวิเทศ (อมรวุฒิ อมโร) วัดไทยลอสแอนเจลิส
- พระเทพปัญญากวี (บรรจง กลฺลิโต) วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
- พระเทพมหาเจติยาจารย์ (ชัยวัฒน์ ปญฺญาสิริ) วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
- พระเทพวุฒาจารย์ (เปลื้อง คงฺคสุวณฺโณ) วัดสุวรรณภูมิ
- พระธรรมพุทธิมงคล (สอิ้ง สิรินนฺโท) วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
- พระเทพวิสุทธิโมลี (อุทัย อุทโย) วัดพระพิเรนทร์
- พระเทพคุณาธาร (ผล ชินปุตฺโต) วัดพระพิเรนทร์
- พระเทพญาณกวี (สุนทร สุนฺทโร) วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
- พระเทพเมธากร (แคล้ว สุมุตฺโต) วัดมหาชัยคล้ายนิมิตร
- พระเทพสังวรญาณ (สงวน จิตฺตรกฺโข) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
- พระเทพโสภณ (ปรีชา อภิวณฺโณ) วัดราชบุรณราชวรวิหาร
- พระราชปัญญาโสภณ (สุข ปญฺญารํสี) วัดราชนัดดารามวรวิหาร
- พระราชวิริยาลังการ (สุบิน ธีรวํโส) วัดปากน้ำภาษีเจริญ
- พระราชพฤฒาจารย์ (เชียง อินฺทโชโต) วัดราชบุรณราชวรวิหาร
- พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) , หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง
- พระราชโมลี (ซ้อน) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
- พระราชรัตนาภรณ์ (บุญช่วย กัมมสุโภ) วัดแก้วฟ้าจุฬามณี
- พระราชปริยัติเมธี (เชษฐา ฉินฺนาลโย) วัดสุวรรณภูมิ
- พระวิเชียรกวี (เชย) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
- พระวิสุทธินายก (อ่อน) วัดปรินายกวรวิหาร
- พระวิสุทธินายก (ใคล ธมฺมโชโต) วัดปรินายกวรวิหาร
- พระวิจิตรวิหารคุณ (กวย อุตฺตมโชโต) วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
- พระวิบูลเมธาจารย์ (เก็บ ภทฺทิโย) วัดดอนเจดีย์
- พระวิสุทธสารเถร (ถิร ปญฺญาปโชโต) วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
- พระวิมลภาวนานุสิฐ (ประสาท สุปณฺฑิโต) วัดกลาง
- พระมหาคณานุศิษฏ์ (สงวน ปาลโก) วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
- พระปริยัติคุณาภรณ์ (พิมล เขมงฺกโร) วัดสุวรรณภูมิ
- พระปริยัติคุณาภรณ์ (เฉลี่ย สิริธโร) วัดธัญญวารี
- พระปริยัติโกศล (จิตต์) วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
- พระปริยัติโกศล (ทองหล่อ วรวุฑฺโฒ) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
- พระศรีปริยัติโกศล (ปรีชา มหาปญฺโญ) วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
- พระศรีธรรมโสภณ (เสงี่ยม ฐานวุฑโฒ) วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร
- พระศรีธรรมคุณาธาร (จำนงค์ วรวฑฺฒโน) วัดพังม่วง
- พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ธมฺมธโช) วัดราชบุรณราชวรวิหาร
- พระราชสุธี (บุญส่ง ฐานงฺกโร(สว่างศรี)) วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม
- พระศรีสิทธิมุนี (เฉลิมชัย ชยเมธี) วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม
- พระศรีวิสุทธิโมลี (ชุบ มหาวีโร) วัดคลองสะท้อน
- พระสุวรรณโมลี (บุญชู ปุญฺญกาโม) วัดโพธาราม
- พระสุธีปริยัตยาภรณ์ (พร้อม) วัดพลับ
- พระสุธีธรรมานุวัตร (เทียบ สิริวณฺโณ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
- พระอุดรคณารักษ์ (วินัย ธมฺมานนฺโท) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
- พระเมตตาวิหารีเถร (ปัด ธมฺมสโร) วัดคูหาสวรรค์
- พระโพธิสังวรเถร (ฑูรย์ อตฺตทีโป) วัดโพธินิมิตรสถิตมหาสีมาราม
- พระภัทรมุนี (ผล ภทฺทิโย) วัดไชนาวาส
- พระศีลขันธโสภิต (วิรัชต์ สิริทตฺโต) วัดพลับพลาชัย
- พระศาสนานุรักษ์ (ทรงเกียรติ ปุณฺฑริโก) วัดปากน้ำภาษีเจริญ
- พระมงคลภาณกาจารย์ (สนิท คุณสินิทฺโธ) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
- พระเขมสุตาจารย์ (เปรื่อง เขมจาโร) วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
- พระโสภณกิตติธาดา (สำอางค์) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
- พระสาธุศีลสังวร (เผื่อน อุคฺคเสโน) วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร
- พระสิริสุพรรณาภรณ์ (สำรวย วิจิตฺโต) วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
- พระสุนทรธรรมคณี (สมบุญ ปุณฺณรํสี) วัดลานคา
- พระเมธีวรคณาจารย์ (พาว เมธิโก) วัดวิเศษการ
- พระเมธีธรรมสาร (ไสว ธมฺมสาโร) วัดบ้านกร่าง
- ขรัวพระพิรอด วัดสองพี่น้อง
- พระอาจารย์ธรรมโชติ วัดเขานางบวช
- หลวงพ่อเนียม วัดน้อย
- หลวงปู่อ้น วัดดอนบุบผาราม
- หลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว
- หลวงปู่เปี้ยน วัดโพธาราม
- หลวงพ่อเหนี่ยง วัดสองพี่น้อง
- หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
- หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
- หลวงพ่อพริ้ง วัดวรจันทร์
- หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน
- หลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร
- หลวงพ่อสมบุญ วัดยางยี่แส
- หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
- หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย
- หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว
- หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆษิตาราม
- หลวงพ่อปุย วัดเกาะ
- หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก
- หลวงพ่อสม วัดดอนบุบผาราม
- หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว
- หลวงพ่อจวน วัดไก่เตี้ย
- หลวงพ่อทวี (พระปลัดทวี) วัดบ้านกร่าง
- หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์
- หลวงปู่ดี วัดพระรูป
- หลวงพ่อเจริญ วัดธัญญวารี
- หลวงพ่อแป้น วัดไทรงามธรรมธราราม
- หลวงปู่สังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม
- หลวงพ่อสนอง วัดสังฆทาน
- หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
- หลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์
- หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน
- หลวงพ่อพลอย วัดห้วยขานาง
- หลวงปู่หงษ์ วัดภคินีนาถวรวิหาร
- ดร.พระมหาไพเราะ วัดสระแก้ว
- ข้าราชการ นักการเมือง
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ)
- สมเด็จพระเพทราชา (ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง)
- เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
- พระยาสุนทรสงคราม (จัน สุนทรพงษ์)
- พระยาสุนทรสงครามรามพิไชย (แจ่ม สุนทรวิภาต)
- พระยาสุนทรสงคราม (ปุย สุวรรณศร)
- พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป)
- พระศรีมงคล (เจ๊ก สุนทรวิภาต)
- ขุนปรีชานุศาสน์ (ปล้อง ธรรมมารมณ์)
- พลเรือเอกสงัด ชลออยู่
- พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง
- พลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์
- พลเอกปรีชา เอี่ยมสุพรรณ
- พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา
- บรรหาร ศิลปอาชา
- กัญจนา ศิลปอาชา
- แจ่มใส ศิลปอาชา
- ชุมพล ศิลปอาชา
- วราวุธ ศิลปอาชา
- ประภัตร โพธสุธน
- ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ
- บุญชู จันทร์สุวรรณ
- มนูญ บริสุทธิ์
- ประกอบ ตันติยาพงศ์
- สหรัฐ กุลศรี
- ดร.ทนง พิทยะ
- ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล
- ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
- รองศาสตราจารย์เชาวน์ มณีวงษ์
- ปราชญ์ ศิลปิน
- นักร้อง นักแสดง
- พิมพ์ ญาดา
- สุรพล สมบัติเจริญ
- สุรชัย สมบัติเจริญ
- พุ่มพวง ดวงจันทร์
- สลักจิตร ดวงจันทร์
- จันทร์จวง ดวงจันทร์
- ขวัญจิต ศรีประจันต์
- ก้าน แก้วสุพรรณ
- ศรเพชร ศรสุพรรณ
- ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
- เด่นชัย สายสุพรรณ
- อัมพร แหวนเพชร
- เสรี รุ่งสว่าง
- สายัณห์ สัญญา
- สังข์ทอง สีใส
- ยืนยง โอภากุล
- อาทิวราห์ คงมาลัย
- ศักดา พัทธสีมา
- วรเวช ดานุวงศ์
- นภัทร อินทร์ใจเอื้อ
- ธีรภัทร์ แย้มศรี
- ปิยะ ตระกูลราษฎร์
- สุเทพ สีใส
- จารุวรรณ ปัญโญภาส
- กวินนา สุวรรณประทีป
- ชุดาภา จันทเขตต์
- ปภัสรา เตชะไพบูลย์
- บงกช คงมาลัย
- อดิเรก วัฏลีลา
- รชยา รักกสิกรณ์
- เปาวลี พรพิมล
- ศรศิลป์ มณีวรรณ์
- ปาณิชดา แสงสุวรรณ
- เก่ง ชวนชัย
- พรชัย เรือนรัตน์
- บัวทอง สัมทิพย์
- บุคคลอื่น ๆ
- รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรพงษ์ เอี่ยมพิชัยฤทธิ์
- ขวัญชัย ไพรพนา
- นที ธีระโรจนพงษ์
- อดิสรณ์ พึ่งยา (แจ็กกี้)
- สมศักดิ์ ศกุนตนาฏ (อ้า สุพรรณ)
- เสมอ งิ้วงาม (ป๋อง สุพรรณ)
- เทิดศักดิ์ ใจมั่น
- มานิตย์ น้อยเวช
- คีรีศักดิ์ บาร์โบส
- สมเดช ยนตรกิจ
- กมลพร สุขมาก
- ไกวัล วัฒนไกร
- เบญจวรรณ วนิชจิวพันธ์
- เสือฝ้าย (ฝ้าย เพ็ชนะ)
- เสือใบ (ใบ สะอาดดี)
- เสือดำ (ดำ สะราคำ)
- ดร.วิทยา ศรีชมภู (อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี) (ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย)
อ้างอิง[แก้]
- กระโดดขึ้น ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- กระโดดขึ้น ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2560. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2561.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น