จังหวัดปทุมธานี (เดิมสะกดว่า ประทุมธานี[3]) เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร
จังหวัดปทุมธานี
"ปทุมธานี" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ปทุมธานี (แก้ความกำกวม)
|
เนื้อหา
ประวัติศาสตร์[แก้]
จังหวัดปทุมธานีมีความเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 300 ปี นับตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เมื่อ พ.ศ. 2202 มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระนายรายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเป็นครั้งที่ 2 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านสามโคกอีก และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะเข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า "มอญใหญ่" พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน จากชุมชนขนาดเล็ก บ้านสามโคกจึงกลายเป็น เมืองสามโคก ในเวลาต่อมาต่อมาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2358 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองสามโคก เป็น เมืองประทุมธานี และเมื่อ พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน "เมือง" และให้เปลี่ยนการสะกดชื่อใหม่จาก "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี" กลายเป็น จังหวัดปทุมธานี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2475 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยุบจังหวัดธัญบุรีมาขึ้นกับจังหวัดปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีจึงได้แบ่งการปกครองเป็น 7 อำเภอดังเช่นปัจจุบัน
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- คำขวัญประจำจังหวัด: ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม
- ตราประจำจังหวัด: รูปบัวหลวงและช่อรวงข้าวชูช่อเหนือน้ำ
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นทองหลางลายหรือต้นปาริชาต (Erythrina variegata)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวหลวง (Nymphaea lotus)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาบู่ทรายหรือปลาบู่ทอง (Oxyeleotris marmorata)
- ต้นทองหลางลายหรือต้นปาริชาต ต้นไม้ประจำจังหวัด
- ดอกบัวหลวง ดอกไม้ประจำจังหวัด
- ปลาบู่ทรายหรือปลาบู่ทอง สัตว์น้ำประจำจังหวัด
การเมืองการปกครอง[แก้]
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
จังหวัดปทุมธานีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาค (ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่) ออกเป็น 7 อำเภอ 60 ตำบล 529 หมู่บ้าน แต่หากไม่นับรวมหน่วยการปกครองในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครซึ่งยุบเลิกตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว จะมีทั้งหมด - ตำบล - หมู่บ้าน โดยอำเภอทั้ง 7 อำเภอของจังหวัดปทุมธานี มีรายชื่อและข้อมูลทั่วไปดังนี้ลำดับ [# 1][5] | ชื่ออำเภอ | พื้นที่ (ตร.กม.) | ห่างจากตัวจังหวัด (ก.ม.)[6][7] | ก่อตั้ง (พ.ศ.)[8] | ตำบล [# 2][8] | หมู่บ้าน [# 3][8] | ประชากร (คน) (พ.ศ. 2554) | แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 |
120.151
| - | 14 | 81 |
179,876
| |||
2 |
299.152
|
22.1
| 7 | 71 |
239,172
| |||
3 |
112.124
|
18.1
| 6 | 12 |
203,692
| |||
4 |
413.632
|
57.9
| 7 | 69 |
50,322
| |||
5 |
183.12
|
17.9
| 7 | 61 |
58,624
| |||
6 |
297.71
|
39.4
| 8 | 114 |
240,178
| |||
7 |
94.967
|
8.1
| 11 | 58 |
52,563
|
- กระโดดขึ้น ↑ เรียงตามรหัสเขตการปกครองของกรมการปกครอง
- กระโดดขึ้น ↑ รวมตำบลในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
- กระโดดขึ้น ↑ เฉพาะหมู่บ้านนอกเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร (ทั้งเต็มหมู่และบางส่วน) เท่านั้น สำหรับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ให้ดูในบทความของแต่ละอำเภอ
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
พื้นที่จังหวัดปทุมธานีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 65 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 9 แห่ง เทศบาลตำบล 17 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 37 แห่ง[9]ลำดับ | ชื่อเทศบาล | พื้นที่ (ตร.กม.) | ตั้งเมื่อ (พ.ศ.)[# 1] | อำเภอ | ครอบคลุมตำบล | ประชากร (คน) (ณ สิ้นปี 2555) [10] | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทั้งตำบล | บางส่วน | รวม | ||||||||||||||
เทศบาลนคร | ||||||||||||||||
1 |
20.80[11]
| 2554 | ธัญบุรี | 1 | - | 1 |
78,826
| |||||||||
เทศบาลเมือง | ||||||||||||||||
2 (1) |
7.1[12]
| 2479[13] | เมืองปทุมธานี | 1 | - | 1 |
22,409
| |||||||||
3 (2) |
12.48[14]
| 2539[15] | ลำลูกกา | - | 1 | 1 |
45,919
| |||||||||
4 (3) |
63[16]
| 2544[17] | คลองหลวง | - | 2 | 2 |
68,456
| |||||||||
5 (4) |
42.94[18]
| 2547[19] | คลองหลวง | - | 2 | 2 |
54,824
| |||||||||
6 (5) |
38.40
| 2547[20] | ธัญบุรี | 2 | - | 2 |
26,837
| |||||||||
7 (6) |
12.5[21]
| 2550[22] | ลำลูกกา | - | 1 | 1 |
60,541
| |||||||||
8 (7) |
18.46 [23]
| 2554[24] | เมืองปทุมธานี | 1 | - | 1 |
23,959
| |||||||||
9 (8) |
15.39[25]
| 2554[26] | ธัญบุรี | 1 | 1 |
30,766
| ||||||||||
10 (9) |
33[27]
| 2554[28] | ลำลูกกา | 1 | - | 1 |
53,054
| |||||||||
เทศบาลตำบล | ||||||||||||||||
11 (1) | 2542 | ธัญบุรี | 2 | - | 2 |
57,257
| ||||||||||
12 (2) | 2542 | ลำลูกกา | - | 2 | 2 |
15,199
| ||||||||||
13 (3) | 2542 | ลำลูกกา | - | 1 | 1 |
2,854
| ||||||||||
14 (4) | 2542 | หนองเสือ | - | 1 | 1 |
2,510
| ||||||||||
15 (5) | 2542 | เมืองปทุมธานี | - | 3 | 3 |
6,665
| ||||||||||
16 (6) | 2542 | สามโคก | - | 1 | 1 |
10,113
| ||||||||||
17 (7) | 2542 | ลาดหลุมแก้ว | - | 1 | 1 |
9,027
| ||||||||||
18 (8) | 2546 | เมืองปทุมธานี | 1 | - | 1 |
11,160
| ||||||||||
19 (9) | 2550 | เมืองฯ | 1 | - | 1 | |||||||||||
20 (10) | 2551 | ลาดหลุมแก้ว | 1 | - | 1 | |||||||||||
21 (11) | 2554 | สามโคก | 1 | - | 1 | |||||||||||
22 (12) | 2554 | ลาดหลุมแก้ว | 1 | - | 1 | |||||||||||
23 (13) | 2554 | เมืองปทุมธานี | - | 1 | 1 | |||||||||||
24 (14) | 2554 | เมืองปทุมธานี | 1 | - | 1 | |||||||||||
25 (15) | 2554 | เมืองปทุมธานี | 1 | - | 1 | |||||||||||
26 (16) | 2554 | เมืองปทุมธานี | 1 | - | 1 | |||||||||||
27 (17) | 2554 | เมืองปทุมธานี | 1 | - | 1 |
- กระโดดขึ้น ↑ หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]
|
|
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดปทุมธานี | ||
---|---|---|
ปี | ประชากร | ±% |
2549 | 856,790 | — |
2550 | 896,843 | +4.7% |
2551 | 929,250 | +3.6% |
2552 | 956,376 | +2.9% |
2553 | 985,643 | +3.1% |
2554 | 1,010,898 | +2.6% |
2555 | 1,033,837 | +2.3% |
2556 | 1,053,158 | +1.9% |
2557 | 1,074,058 | +2.0% |
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[29] |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
|
เศรษฐกิจ[แก้]
จังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ โดยมีพื้นที่การเกษตร 506,678 ไร่ หรือร้อยละ 53.03 ของพื้นที่จังหวัด (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2546) ในปัจจุบัน นอกจากการเกษตรแล้ว จังหวัดยังเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ มีนิคมอุตสาหกรรมกระจายอยู่ทั้งจังหวัด โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมเกือบร้อยละ 70 ของจังหวัดมาจากภาคอุตสาหกรรม (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2543)พื้นที่การเกษตรมีอยู่ในทุกอำเภอ และมีมากที่สุดในเขตอำเภอหนองเสือ อำเภอลำลูกกา อำเภอลาดหลุมแก้ว และอำเภอคลองหลวงตามลำดับ โดยพื้นที่ของจังหวัดจะมีการทำการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นที่นา ไม้ผล และไม้ยืนต้น ตามลำดับ
จังหวัดปทุมธานีมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2543 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อคน 2,064,288 บาทต่อปี นับว่าสูงเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ รองจากจังหวัดระยอง ชลบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และจังหวัดภูเก็ต มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่า 118,489 ล้านบาท รายได้สูงสุดขึ้นอยู่กับภาคอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 69.32 คิดเป็นมูลค่า 82,136 ล้านบาท รองลงมา คือ ภาคบริการ ร้อยละ 7.688 คิดเป็นมูลค่า 9,102 ล้านบาท และสาขาการค้าส่งและค้าปลีก ร้อยละ 5.12 คิดเป็นมูลค่า 6,071 ล้านบาท โดยพื้นที่เขตอำเภอคลองหลวงมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่นมากที่สุด รองลงมาคืออำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว และ อำเภอสามโคก ส่วนพื้นที่ที่มีโรงงานน้อยที่สุดได้แก่ อำเภอหนองเสือ
ตลาดขายส่งที่สำคัญในจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดพูนทรัพย์ ตลาดรังสิต นอกจากนี้ ยังมีนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น นิคมอุตสาหกรรมนวนคร อำเภอคลองหลวง, สวนอุตสาหกรรมบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี, และเทคโนธานี อำเภอคลองหลวง (ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ตั้งของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย)
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]
สาธารณสุข[แก้]
|
|
การศึกษา[แก้]
จังหวัดปทุมธานีมีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาปทุมธานีให้เป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีของภูมิภาค (Education and Technology Hub) พร้อมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร โดยใช้จุดได้เปรียบของการที่มีสถาบันการศึกษาและวิจัย รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี อยู่ในตัวจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นจำนวนมากรายชื่อสถาบันการศึกษาในจังหวัดปทุมธานีมีดังนี้
|
|
- โรงเรียน
- ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี
- สถาบันวิจัย
|
กีฬา[แก้]
- สมาคมกีฬาจังหวัดปทุมธานี (สก ปท.)
- สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส
- สโมสรฟุตบอลแบงค็อก ยูไนเต็ด
- สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
|
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น