จังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย และยังเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489
จังหวัดสมุทรปราการ
|
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
ในสมัยอยุธยามีชื่อเมืองสมุทรปราการในกฎหมายซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2178 แต่ตัวเมืองจะตั้งอยู่ที่ใดในเวลานั้นไม่ปรากฏชัด มีหลักฐานแต่เพียงว่า ที่ปากคลองบางปลากด ฝั่งขวาของ แม่น้ำเจ้าพระยา มีพ่อค้าชาวฮอลันดามาตั้งห้างพักสินค้าอยู่ ณ ที่นั้นและเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงแต่งสมณทูตไปลังกากล่าวว่าออกเรือจากเมืองธนบุรีไปถึงตึกฮอลันดาที่ตำบลบางปลากดแสดงว่าที่นั่นคงมีผู้คนอาศัยอยู่มากอาจเป็นตัวเมืองสมุทรปราการในครั้งนั้นก็ได้ ต่อมาเมื่อ กรุงศรีอยุธยา เสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ปรากฏหลักฐานว่า พม่าได้มาปล้นบ้านเรือนราษฎรที่ตำบลบางเมืองในเขตเมืองสมุทรปราการด้วย ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการบัดนี้ที่ตำบลบางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2362 พร้อมกับสร้างป้อมป้องกันเรือของข้าศึกรวม 6 ป้อมและใน พ.ศ. 2366 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสมุทรเจดีย์บนเกาะกลางน้ำด้วย อนึ่ง สมุทรปราการ เรียกกันเป็นสามัญว่า "ปากน้ำ" เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งซ้าย ห่างจากปากแม่น้ำเข้ามาราว 6 กิโลเมตร [3]ภูมิศาสตร์[แก้]
จังหวัดสมุทรปราการเป็นเขตปริมณฑล จังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่ 1,004 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับกรุงเทพมหานคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา, ทิศใต้จรดอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดต่อกับกรุงเทพมหานคร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทางซีกตะวันตกของจังหวัด จากทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่อ่าวไทย มีชายฝั่งทะเลยาว 47.5 กิโลเมตร เดิมชายฝั่งทะเลมีป่าชายเลนกว้างขวาง เนื่องจากมีตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา นำพามาทับถมกันที่บริเวณปากน้ำแต่ปัจจุบันมีการบุกรุกป่าชายเลน ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นบริเวณกว้าง[3]ในด้านเศรษฐกิจ จังหวัดสมุทรปราการมีการทำนา, ประมง และอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ, วัดอโศการาม, วัดบางพลีใหญ่, วัดไพชยนต์พลเสพราชวรวิหาร, วัดโปรดเกศเชษฐาราม, ศาลพระเสื้อเมือง, พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ, เมืองโบราณ, สถานตากอากาศบางปู, ป้อมพระจุลจอมเกล้า, สวางคนิวาส, ป้อมแผลงไฟฟ้า, ฟาร์มจระเข้ ฯลฯ [3]
การคมนาคมจากกรุงเทพมหานคร โดยทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท ตอนกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ) ระยะทาง 25 กิโลเมตร [3]
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- อักษรย่อ: จังหวัดสมุทรปราการใช้อักษรย่อ สป
- ตราประจำจังหวัด: พระสมุทรเจดีย์
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นโพทะเล (Thespesia populnea)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกดาวเรือง (Tagetes erecta)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาสลิด (Trichopodus pectoralis)
- คำขวัญประจำจังหวัด: ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม งามล้ำโพธิ์ทะเล มนต์เสน่ห์สุวรรณภูมิ
การเมืองการปกครอง[แก้]
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค[แก้]
จังหวัดสมุทรปราการแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 6 อำเภอ 50 ตำบล 405 หมู่บ้าน อำเภอในจังหวัดสมุทรปราการประกอบไปด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น[แก้]
พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 49 แห่ง ประกอบด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยมี 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด, เทศบาลนคร 1 แห่ง, เทศบาลเมือง 4 แห่ง, เทศบาลตำบล 13 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 30 แห่ง จำแนกได้ดังนี้[4]ลำดับ | ชื่อเทศบาล | พื้นที่ (ตร.กม.) | ตั้งเมื่อ (พ.ศ.)[# 1] | อำเภอ | ครอบคลุมตำบล | ประชากร (คน) (ณ สิ้นปี 2555) [5] | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทั้งตำบล | บางส่วน | รวม | ||||||||||
เทศบาลนคร | ||||||||||||
1 |
7.33
| 2542[6] | เมืองสมุทรปราการ | 1 | - | 1 |
51,691
| |||||
เทศบาลเมือง | ||||||||||||
2 (1) |
0.61
| 2480 [7] | พระประแดง | 1 | - | 1 |
10,744
| |||||
3 (2) |
15.50
| 2545[8] | พระประแดง | 3 | - | 3 |
74,903
| |||||
4 (3) |
9.30
| 2550 [9] | เมืองสมุทรปราการ | - | 1 | 1 |
25,726
| |||||
5 (4) |
25.50
| 2552[10] | พระประแดง | 5 | - | 5 |
77,787
| |||||
เทศบาลตำบล | ||||||||||||
6 (1) | 2538 | เมืองสมุทรปราการ | - | 3 | 3 |
30,822
| ||||||
7 (2) | 2542 | เมืองสมุทรปราการ | 4 | - | 4 |
119,190
| ||||||
8 (3) | 2542 | เมืองสมุทรปราการ | - | 2 | 2 |
23,752
| ||||||
9 (4) | 2542 | เมืองสมุทรปราการ | - | 1 | 1 |
55,796
| ||||||
10 (5) | 2542 | เมืองสมุทรปราการ | - | 3 | 3 |
102,114
| ||||||
11 (6) | 2542 | บางบ่อ | - | 1 | 1 |
6,522
| ||||||
12 (7) | 2542 | บางบ่อ | 1 | - | 1 |
3,261
| ||||||
13 (8) | 2542 | บางบ่อ | - | 1 | 1 |
11,732
| ||||||
14 (9) | 2542 | บางพลี | - | 3 | 3 |
8,198
| ||||||
15 (10) | 2542 | พระสมุทรเจดีย์ | 1 | - | 1 |
13,218
| ||||||
16 (11) | 2542 | พระสมุทรเจดีย์ | - | 2 | 2 |
17,577
| ||||||
17 (12) | 2542 | บางเสาธง | - | 2 | 2 |
23,520
| ||||||
18 (13) | 2554 | บางบ่อ | 1 | - | 1 |
9,086
|
- กระโดดขึ้น ↑ หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]
ลำดับ | ชื่อ | เริ่มดำรงตำแหน่ง | ออกจากตำแหน่ง |
---|---|---|---|
พระยานครเขื่อนขันธ์ รามัญราชชาติเสนาบดี ศรีสิทธิสงคราม (ทอมา คชเสนี) | |||
พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) | |||
พระยาดำรงราชพลขันธ์ (นกแก้ว คชเสนี) | |||
พระยาขยันสงคราม (เจ๊ก คชเสนี) | |||
พระยาเกียรติ (นกขุนทอง คชเสนี) | |||
พระยาดำรงราชพลขันธ์ (หยอด คชเสนี) | |||
พระยาเทพผลู (ทองคำ) | |||
พระยาพินิจมนตรี (ปุย คชเสนี) | |||
พระยานาคราชกำแหง (แจ้ง คชเสนี) | |||
พระยาพายัพพิริยกิจ (เป้า จารุเสถียร) | |||
พระประแดงบุรี (โต) | |||
พระพิชัยบุรินทรา (สะอาด) |
|
|
ประชากร[แก้]
สถิติประชากร ตามทะเบียนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ | ||
---|---|---|
ปี | ประชากร | ±% |
2549 | 1,104,766 | — |
2550 | 1,126,940 | +2.0% |
2551 | 1,147,224 | +1.8% |
2552 | 1,164,105 | +1.5% |
2553 | 1,185,180 | +1.8% |
2554 | 1,203,223 | +1.5% |
2555 | 1,223,302 | +1.7% |
2556 | 1,241,610 | +1.5% |
อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[12] |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
|
เทศกาลและงานประเพณี[แก้]
- งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ จะจัดขึ้นในวันแรม 5 ค่ำเดือน 11 ของทุกปีเป็นเวลา 12 วัน 12 คืน
- งานเทศกาลสงกรานต์ปากลัด จัดที่พระประแดงในวันอาทิตย์แรกหลังจากงานงานสงกรานต์ วันที่ 13 เมษายนผ่านไปแล้ว
- ประเพณีรับบัวหรือโยนบัว
- ประเพณีแห่หลวงปู่ปาน
การขนส่ง[แก้]
ในจังหวัดสมุทรปราการ การเดินทางส่วนใหญ่ใช้รถส่วนบุคคลและรถประจำทาง โดยจุดรถประจำทางที่สำคัญได้แก่ บริเวณ บางนา, สำโรง, ปากน้ำ, บางพลี และพระประแดง สำหรับการโดยสารทางเรือ ผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยา มีเรือโดยสารเลียบแม่น้ำ ขึ้นได้ที่ท่าน้ำปากน้ำ และมีการโดยสารข้ามแม่น้ำหลายจุด รวมทั้งบริเวณท่าน้ำพระประแดงมีท่าแพสำหรับบรรทุกรถข้ามแม่น้ำ การเดินทางทางอากาศผ่านทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมินอกจากนั้น จังหวัดสมุทรปราการยังมีโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนที่ต่อเนื่องออกมาจากกรุงเทพมหานครถึงสามเส้นทาง คือรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ชั้นใต้ดินของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท บนถนนสุขุมวิท และถนนเทพรัตน และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง บริเวณถนนศรีนครินทร์ และถนนเทพารักษ์ และในอนาคต จะมีรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม บนถนนสุขสวัสดิ์
การศึกษา[แก้]
- การศึกษาขั้นพื้นฐาน (โรงเรียนมัธยม)
ดูเพิ่มเติมที่: รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ
- สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล
- สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอบางพลี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ อำเภอบางพลี
- ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี สถาบันการศึกษาในสังกัดกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม อำเภอเมืองสมุทรปราการ
- สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ (บางนา) อำเภอบางเสาธง
- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อำเภอบางพลี
- วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก อำเภอบางพลี
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี
- วิทยาลัยนานาชาติราฟเฟิลส์ อำเภอบางพลี
- สถาบันอาชีวศึกษารัฐบาล
- วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ อำเภอเมืองสมุทรปราการ
- วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกสมุทรปราการ อำเภอบางบ่อ
- วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ อำเภอเมืองสมุทรปราการ
- วิทยาลัยการอาชีพพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์
- สถาบันอาชีวศึกษาเอกชน
- วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ อำเภอบางพลี
- โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจเปรมฤทัย อำเภอบางพลี (ปัจจุบันเลิกกิจการ)
- โรงเรียนเกริกวิทยาลัย อำเภอบางพลี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีสมุทรปราการ (ช.เทค) อำเภอเมืองสมุทรปราการ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิบริหารธุรกิจ อำเภอบางพลี
- โรงเรียนเทคโนโลยีสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง (ปัจจุบันเลิกกิจการ)
- โรงเรียนช่างสำรวจอนุสรณ์สัน อำเภอเมืองสมุทรปราการ (ปัจจุบันเลิกกิจการ)
- วิทยาลัยเทคโนโลยีเกวลินบริหารธุรกิจ อำเภอบางเสาธง
- วิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-ไต้หวัน (บีดีไอ) อำเภอบางพลี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยโกลบอลบริหารธุรกิจ อำเภอเมือง
- โรงเรียนศรีดรุน อำเภอบางพลี
- โรงเรียนสุขเจริญผล อำเภอบางพลี
- การศึกษาทางทหาร
การท่องเที่ยว[แก้]
สมุทรปราการมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอยู่หลายแห่ง ได้แก่ ฟาร์มจระเข้ และเมืองโบราณ ซึ่งรู้จักกันจากนักท่องเที่ยวจากที่ต่างๆ นอกจากนี้ในช่วงประมาณปลายเดือนตุลาคมและต้นเดือนพฤศจิกายน จะมีการจัดงานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์หรือที่เรียกกันว่า "งานเจดีย์" เป็นเวลา 12 วัน 12 คืน ซึ่งเป็นงานประจำจังหวัดสมุทรปราการ จัดขึ้นบริเวณใจกลางเมืองของตัวอำเภอเมืองสมุทรปราการ โดยจะมีการปิดถนนเริ่มต้นบริเวณศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ มีการจัดตั้งร้านขายของ, ร้านอาหาร, การละเล่น, ชิงช้าสวรรค์, ม้าหมุน และงานโชว์ต่างๆ รวมถึงของหลายหลายมาวางขายนอกจากที่กล่าวมา ยังมีสถานท่องเที่ยวที่น่าสนใจต่อไปนี้
- ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง – แหล่งรวมอาหารพื้นบ้านรวมถึงที่พักผ่อนหย่อนใจ เปิดเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
- ตลาดน้ำโบราณบางพลี
- บ้านสาขลา – หมู่บ้านทางวัฒนธรรมเก่าแก่ สมัยสุโขทัย
- ป้อมพระจุลจอมเกล้า – ป้อมปืนที่สำคัญสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5
- เมืองโบราณ – พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่จำลองสถานที่สำคัญและโบราณสถานในเมืองไทย
- พระสมุทรเจดีย์ – โบราณสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง
- พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ– ประติมากรรมทองแดงรูปช้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
- ฟาร์มจระเข้ – ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ
- สถานตากอากาศบางปู – สถานพักผ่อนหย่อนใจและเป็นศูนย์รวมของฝูงนกนางนวล
- หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน – พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวสมุทรปราการและประชาชนทั่วไปนับถือ
- โครงการลูกพระดาบส สมุทรปราการ ตามพระราชดำริ – สถานที่ศึกษาดูงาน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง[13]
- อุทยานการเรียนรู้อ่าวไทย – อุทยานการเรียนรู้อ่าวไทยและหอชมเมืองสมุทรปราการ
- หลวงพ่อเขียวสุโข วัดหัวคู้ - พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวจระเข้น้อย และพระเจ้าตากสินมหาราช
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
- สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) – สมเด็จพระราชาคณะ อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสมัชชามหาคณิสสร เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
- กรุง ศรีวิไล – นักแสดงและนักการเมือง
- คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์ – นักแสดง
- นาม ยิ้มแย้ม – ประธานคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง
- ปัญญา ถนอมรอด – ประธานศาลฎีกา
- เมืองทอง สมยาประเสริฐ – นักร้องเพลงลูกทุ่ง
- สดใส รุ่งโพธิ์ทอง – นักร้องเพลงลูกทุ่ง
- ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร – ราชบัณฑิต แพทย์ดีเด่น และหนึ่งในแพทย์ผู้ชันสูตรพระบรมศพรัชกาลที่ 8
- สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ – อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยและอดีตโค้ชทีมเมืองทองยูไนเต็ด
- อภิเชษฐ์ พุฒตาล – อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
- วัฒนา อัศวเหม – ประธานพรรคเพื่อแผ่นดิน
- ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม – นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
- อำนวย รัศมิทัต – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
- ธนภณ คารมปราชญ์ – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
- ภัทรวดี อภิเด่นเลิศนภาลัย – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
- ธนภัท ธญธนพัต – อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
- บุญเกิด ธรรมวาสี – นักวิชาการ ผู้คิดค้นเกมอักษรไขว้ภาษาไทย
- ปาณรวัฐ กิตติกรเจริญ – นักร้องวง D2B
- รำลึก ธีรพงษ์ – นักกีฬาหมากรุกไทย และครูหมากรุกไทยชื่อดัง
- สารัช อยู่เย็น – นักฟุตบอลทีมชาติไทย สังกัด สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
- สิทธิชัย สุวรประทีป – นักกรีฑาทีมชาติไทย
- เหรียญชัย สีหะวงษ์ – นักกรีฑาทีมชาติไทย
- อัญชะลี ไพรีรัก − สื่อมวลชนชาวไทย
- ฝนทิพย์ วัชรตระกูล – มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2553 นักแสดงสังกัด ช่อง7
- พรรัมภา สุขได้พึ่ง – นักแสดงสังกัดช่อง 7
- อรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 1
- ประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 2
- อนุสรา ยังตรง – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 3
- วรชัย เหมะ – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 4
- พิมพ์ ญาดา – นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย
- สลิลทิพย์ สุขวัฒน์ – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 5
- เรวดี รัศมิทัศ – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 6
- ประชา ประสพดี – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ เขต 7
- ธนากร ศรีบรรจง – นักแสดงตลกเดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์
- ศิรชัช เจียรถาวร – นักแสดง
- วโรดม เข็มมณฑา – นักแสดง,นักร้อง,ดีเจ
- อิทธิพัทธ์ ฐานิตย์ – นักแสดง,นายแบบ
- ธนบูรณ์ เกษารัตน์ – นักฟุตบอลทีมชาติไทย สังกัดสโมสร เชียงราย ยูไนเต็ด
- ณพสิน แสงสุวรรณ – อดีตนักร้องนำวง กะลา (วงดนตรี) ปัจจุบันเป็นนักร้องเดี่ยวสังกัดค่าย จีนี่เรคอร์ดส ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในนาม “หนุ่ม กะลา”
- กานต์ธีรา วัชรทัศนกุล – (เนย BNK48) - นักร้อง
อ้างอิง[แก้]
- กระโดดขึ้น ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- กระโดดขึ้น ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 3.0 3.1 3.2 3.3 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
- กระโดดขึ้น ↑ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2556. สืบค้น 20 กันยายน 2556.
- กระโดดขึ้น ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน ทั่วประเทศ และรายจังหวัด ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/pop55_1.html 2556. สืบค้น 1 เมษายน 2556.
- กระโดดขึ้น ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2542ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน 19ก ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2542
- กระโดดขึ้น ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พุทธศักราช 2480". ราชกิจจานุเบกษา 54: 1878–1881. 14 มีนาคม 2480.
- กระโดดขึ้น ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองลัดหลวง พ.ศ. ๒๕๔๕". ราชกิจจานุเบกษา 119 (93 ก): 4–6. 20 กันยายน 2545.
- กระโดดขึ้น ↑ กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำสมุทรปราการ และจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ.
- กระโดดขึ้น ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเทศบาลเมืองสำโรงใต้". ราชกิจจานุเบกษา 126 (พิเศษ 145 ง): 21. 1 ตุลาคม 2552.
- กระโดดขึ้น ↑ http://www.samutprakan.go.th/gov.pdf
- กระโดดขึ้น ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
- กระโดดขึ้น ↑ http://lukphradabos.org/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น